วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551

ประวัติวัดสันติวัน
วัดสันติวันเดิม เป็นสำนักวิปัสสนาพระธาตุสันติวัน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ทำหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งทางด้านปริยัติคือการศึกษา และส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งในแต่ละปีที่ดำเนินการมามีผู้สนใจเข้ารับการอบรมและปฏิบัติเป็นจำนวนมากทุกปี และโดยเฉพาะ ในแต่ล่ะปีจะมีพระภิกษุสามเณรมาศึกษาและปฏิบัติอยู่จำพรรษาเป็นจำนวนมากทุกๆปี เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรผู้เข้ามาปฏิบัติ มีสังกัดที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ไทย และเพื่อความดีงามอื่นๆ ทางจังหวัดจึงอยากให้เป็นวัดที่ถูกต้อง คณะปฏิบัติธรรมจึงเห็นสมควรว่าจะต้องหาที่เพิ่มเติม โดยมี คุณแม่ละไม ชีคุณ ได้บริจาคเงินเพื่อซื้อที่เพิ่มเติม จำนวน ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( เจ็ดล้านบาท ) และคณะผู้ปฏิบัติธรรมกับสาธุชนทั้งหมดร่วมกันอีก ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งล้านบาท ) รวมเป็น ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( แปดล้านบาท ) เพื่อซื้อที่เพิ่มจากนายสถิต ขันกสิกรรม จำนวน ๑๒ ไร่ ถวายเพื่อสร้างและตั้งเป็นวัดรวมทั้งสำนักปฏิบัติธรรมอยู่เดิมด้วย ประมาณ ๒๔ ไร่ และได้ทำเรื่องขออนุญาตสร้างวัด เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดจากกรมการศาสนาเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ ดำเนินการก่อสร้างเสนาสนะเพิ่มเติมเห็นสมควรตั้งเป็นวัด จึงได้ทำหนังสือขออนุญาตสร้างวัด และได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ชื่อ วัดสันติวัน เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๑ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘๙/๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และหลังจากที่ได้รับอนุญาตให้เป็นวัด ทางวัดสันติวัน ก็ได้ดำเนินการก่อสร้าง ถาวรวัตถุเพิ่มเติม เช่น ศาลาการเปรียญ กุฎีสงฆ์ โรงครัว เพื่อรองรับเยาวชนและประชาชนที่เข้าอบรมคุณธรรมจริยธรรม และเข้ามาปฏิบัติธรรม เป็นจำนวนมากในแต่ล่ะปี และวัดสันติวันก็ยังต้องสร้างถาวรวัตถุที่ถือว่าสำคัญยิ่งของวัดถือว่าเป็นหัวใจของวัด แต่ว่าพื้นที่ที่มีอยู่ถูกใช้เป็นอย่างอื่นไปหมด ทางคณะผู้ปฏิบัติธรรม และคณะกรรมการของวัดจึงมีความเห็นตรงกันว่าจะต้องซื้อที่เพิ่มเพื่อสร้างอุโบสถ จึงได้ตกลงซื้อที่ อีกจำนวน ๔ ไร่ ของนางสีลา เขม้นเขตการ เป็นจำนวนเงิน ๘๐๐,๐๐๐ บาท ( แปดแสนบาท ) รวมกับที่ดินที่มีอยู่เดิมเป็น ๒๘ ไร่ และได้ลงมือดำเนินการก่อสร้างอุโบขึ้นในปี ๒๕๔๘ ปรารภการสร้างอุโบสถเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชครบ ๖๐ ปี และขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างก็เสร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ วัดสันติวันแห่งนี้ เป็นสถานที่ส่งเสริมการปฏิบัติ และหลักการปฏิบัติของวัดตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ หลักมหาสติปัฏฐาน ๔ ผู้ใดสนใจใคร่ในการปฏิบัติธรรม สามารถติดต่อเข้ารับการปฏิบัติได้ทุกเวลา
อาณาเขตที่ตั้งวัดสันติวัน
ทิศเหนือ ติดกับ ถนนสาธาณประโยชน์
ทิศใต้ ติดกับที่ นายปัญญา สุวรรณแก้ว
ทิศตะวันออก ติดกับ ถนนสายพึงพระ- ดงพลวง ( ถนนสาธารณประโยชน์ )
ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนสาธารณประโยชน์
อาคารเสนาสนะต่างๆ มีดังนี้
(๑) กุฏีเจ้าอาวาสกว้าง ๑๓.๒๙ เมตร ยาว ๑๒.๐๘ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ หลัง
- กุฏีสงฆ์ กว้าง ๔.๐๔ เมตร ยาว ๔.๐๔ เมตร ๗ หลังๆ ละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
- กุฏีสงฆ์กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๑ หลังค่าก่อสร้าง
๒๕๐,๐๐๐ บาท
- กุฏีสงฆ์ไม้ กว้าง ๖.๑๓ ยาว ๖.๘๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง ค่าก่อสร้าง

๕๐,๐๐๐ บาท
(๒) ศาลาการเปรียญเอนกประสงค์ กว้าง ๒๑.๓๕ เมตร ยาว ๔๓.๓๐ เมตร
ค่าก่อสร้าง ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ หลัง
(๓) อุโบสถ กว้าง ๗.๘๑ เมตร ยาว ๒๒.๖๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง ค่า
ก่อสร้าง ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท
(๔) โรงครัว กว้าง ๑๕.๗๘ เมตร ยาว ๒๖.๘๕ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ หลัง
(๕) หอระฆัง กว้าง ๔.๙๐ ยาว ๔.๙๐ เมตร ค่าก่อสร้าง ๓๕๐,๐๐๐ บาท
จำนวน ๑ หลัง
(๖) ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๑๒ สิงหามหาราชินี กว้าง ๖.๑๔ เมตร ยาว ๙.๑๔
เมตร ค่าก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐ บาท จำนวน ๑ หลัง
(๗) ห้องสุขา จำนวน ๓๕ ห้อง ค่าก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐ บาท
ประวัติเจ้าอาวาสที่เคยปกครองวัดสันติวัน มีดังนี้
พระครูสันติจันทคุณ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสันติวัน รูปปัจจุบัน